ชื่อพื้นเมือง ยางเหียง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Dipterocarpus Obtusifolius Teijsm.ex Miq.
ชื่อวงศ์ DIPTEROCARPACEAE
ชื่อสามัญ -
ประโยชน์ ใบต้มดื่มแก้ปวดฟัน ยาง สมานแผล ขับเสมหะ ขับปัสสาวะ เปลือก ต้มน้ำดื่มแก้ท้องเสีย ใบใช้ห่ออาหารหรือห่อข้าวเหนียว � ใช้ในการก่อสร้างทั่วๆ ไปได้ดี ทางภาคเหนือใช้ใบแก่ ห่อยาสูบและห่อของสดแทนใบกล้วย
ลักษณะวิสัย ไม้ต้น
ลักษณะเด่น ไม้ต้น ทรงพุ่มรูปไข่ สูง 9.50 เมตร กว้าง 9.57 เมตร พืชบก ลำต้นเหนือดิน ตั้งตรงเองได้ เปลือกลำต้นสีน้ำตาลอมเทา ผิวหยาบ ขรุขระ แตกเป็นสะเก็ด มียางสีขาวขุ่น ใบเดี่ยวสีเขียวปนเทา กว้าง 2.5 เซนติเมตร ยาว 17 เซนติเมตร เนื้อใบหนามีขนสีน้ำตาลคลุมแน่น เรียงเวียนสลับ แผ่นใบรูปไข่ ปลายใบมน โคนใบมน ขอบใบเรียบเป็นคลื่นเล็กน้อย ดอกช่อ ออกดอกตามลำต้นหรือกิ่ง กลีบเลี้ยงโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก กลีบดอกโคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก สีชมพู เกสรเพศผู้ 30 อัน อัดแน่นรอบรังไข่ รังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ไม่มีกลิ่น ผลเดี่ยว ผลแห้งแก่แล้วไม่แตก ผลเปลือกแข็งเมล็ดเดียว ผลกลม เกลี้ยง แข็ง สีน้ำตาลเป็นมัน ปีกยาว 2 ปีก รูปขอบขนาน สอบเรียวไปทางโคนมีเส้นปีก 3 เส้น เมล็ดมี 1 เมล็ด
ผู้ชม : 3,517 ครั้ง

ลักษณะวิสัย
ลักษณะวิสัย
ลำต้น
ลำต้น
ใบ
ใบ
ดอก
ดอก