ชื่อพื้นเมือง ตำลึง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Alstonia scholaris ( L.) R.Br.
ชื่อวงศ์ CUCURBITACEAE
ชื่อสามัญ Ivy Gourd
ประโยชน์ ยอดอ่อนและใบอ่อนของตำลึงนำไปลวกและนึ่งเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกและนำไปปรุงอาหารเป็นแกงเลียง แกงจืด ผัก ผลอ่อนของตำลึงไปดองและนำไปรับประทานกับน้ำพริกหรือปรุงเป็นแกงได้ สรรพคุณทางยารักษาโรคเบาหวาน ลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ ลดอาการคัน�อาการอักเสบเนื่องจากแมลงกัดต่อยและพืชมีพิษ� แก้งูสวัด, เริม แก้ตาช้ำตาแดง ทำให้ใบหน้าเต่งตึง ใบ ดับพิษร้อน ถอนพิษไข้ แก้ตัวร้อน ดับพิษฝี แก้ปวดแสบปวดร้อน แก้คัน ดอก แก้คัน เมล็ด ตำผสมน้ำมันมะพร้าวทาแก้หิด เถา ใช้น้ำจากเถาหยดตา แก้ตาฟาง ตาแดง ตาช้ำ ตาแฉะ พิษอักเสบในตา ดับพิษ แก้อักเสบ ชงกับน้ำดื่มแก้วิงเวียนศีรษะ ราก ดับพิษทั้งปวง แก้ตาฝ้า ลดไข้ แก้อาเจียน น้ำยาง,ต้น,ใบ,ราก แก้โรคเบาหวาน หัว ดับพิษทั้งปวง
ลักษณะวิสัย ไม้เลื้อย
ลักษณะเด่น ไม้เลื้อย พืชอิงอาศัย สูง 0.47 เมตร กว้าง 0.09 เมตร เป็นไม้เลื้อยที่มีมือจับใช้สำหรับเลื้อยเกาะต้นไม้ใหญ่หรือไม้ปักหลัก ผิวเรียบ ใบเดี่ยว ใบอ่อนสีเขียวอ่อน ใบแก่สีเขียวเข้ม แผ่นใบกว้าง 8.5 เซนติเมตร ยาว 9 เซนติเมตร ลักษณะพิเศษของใบมีมือเกาะยื่นออกมาที่ข้อ ใบเรียงสลับ แผ่นใบเป็นรูปไข่ ปลายใบแหลม โคนใบรูปหัวใจ ขอบใบเป็นรูปจักฟันเลื่อย ดอกเดี่ยว รูประฆัง กลีบดอกติดกันสีขาว แยกเพศอยู่คนละต้น ดอกออกดอกตามซอกใบ กลีบเลี้ยงแยกจากกัน ปลายแยกเป็น 5 แฉก สีขาวแกมเขียว กลีบดอกโคนเชื่อมติดกันปลายแยกเป็น 5 แฉก สีขาว เกสรเพศผู้จำนวน 3 อัน เกสรตัวเมียจำนวน 1 อัน ตำแหน่งรังไข่ใต้วงกลีบ มีกลิ่นหอม ผลเดี่ยวแบบผลแตง ผลอ่อนสีเขียวอ่อน ผลแก่สีแดง รูปร่างคล้ายแตงกวาแต่มีขนาดเล็กกว่า มีลายสีขาว
ผู้ชม : 2,777 ครั้ง

ลักษณะวิสัย
ลักษณะวิสัย
ลำต้น
ลำต้น
ใบ
ใบ
ดอก
ดอก
ผล
ผล