ชื่อพื้นเมือง เล็บมือนาง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Quisqualis indica L.
ชื่อวงศ์ COMBRETACEAE
ชื่อสามัญ Drunen sailor, Rangoon ceeper
ประโยชน์ ใบ-ตำชโลม หรือทาแผล ทาฝี แก้ปวดศีรษะ แก้ไข้ ต้น�-�ใช้เป็นยาแก้ไอ ราก�-�ใช้ถ่ายพยาธิ รักษาตานซาง เมล็ด�- ใช้เป็นยาขับพยาธิตัวกลม, พยาธิเส้นด้ายในเด็ก
ลักษณะวิสัย ไม้พุ่มรอเลื้อย
ลักษณะเด่น ไม้เลื้อย ทรงพุ่มรูปกลม สูง 3.82 เมตร กว้าง 4.50 เมตร เป็นพืชอิงอาศัย ลำต้นตั้งตรงเองไม่ได้ ใช้ลำต้นเกี่ยวพัน ผิวเรียบ ต้นอ่อนสีเขียวอ่อน ต้นแก่สีน้ำตาล ใบเดี่ยว ใบอ่อนสีเขียว ใบแก่สีเขียว แผ่นใบกว้าง 9 เซนติเมตร ยาว 17 เซนติเมตร แผ่นใบเป็นรูปรี ปลายใบเป็นติ่งแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ ใบเรียงตัวตรงข้ามกัน ดอกช่อ ดอกมีลักษณะเป็นหลอด ตรงปลายดอกจะแยกออกเป็น 5 กลีบ ดอกมีสีแดงอมขาว หรือสีชมพู หลอดของดอกจะโค้งเล็กน้อย และจะมีเกสรยาว ๆ ยื่นออกมาจากกลางดอก 5 อัน เป็นช่อสีขาว แล้วค่อยเปลี่ยนเป็นสีขมพู มีกลิ่นหอม ออกดอกตามซอกใบ กลีบเลี้ยงแยกกัน 4 กลีบ ผลแห้งไม่แตก เป็นสันตามยาว 5 สัน เมื่อแก่ผลมีสีน้ำตาลแกมดำ
ผู้ชม : 2,843 ครั้ง

ลักษณะวิสัย
ลักษณะวิสัย
ลำต้น
ลำต้น
ใบ
ใบ
ดอก
ดอก