ชื่อพื้นเมือง ลั่นทม
ชื่อวิทยาศาสตร์ Plumeria rubra L.
ชื่อวงศ์ APOCYNACEAE
ชื่อสามัญ -
ประโยชน์ ยางและแก่น-ใช้เป็นยาถ่ายพิษทั้งปวง ถ่ายเสมหะและโลหิต แก้กามโรค แก้ปวดฟัน ใบ-ลนไฟให้ร้อนพอพอกแก้ปวดบวม ชงน้ำร้อนใช้รักษาหิดเนื้อไม้-แก้ไอ ราก-เป็นยาถ่าย และทำให้แท้งได้ เปลือกราก-ใช้เป็นยาถ่าย แก้โรคข้ออักเสบ
ลักษณะวิสัย ไม้พุ่ม
ลักษณะเด่น ไม้ต้น ทรงพุ่มรูปไข่ สูง 2.20 เมตร กว้าง 2.30 เมตร พืชบก ลำต้นเหนือดิน ผิวเรียบ ไม่มีข้อปล้อง ต้นอ่อนสีเขียวอ่อน ต้นแก่สีเทาเขียว มียางขาวขุ่น ใบเดี่ยว เรียงสลับ ใบอ่อนสีเขียวอ่อน ใบแก่ด้านบนสีเขียว ด้านล่างสีเขียวอ่อน รูปหอกกลับ กว้าง 9 เซนติเมตร ยาว 21 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบสอบแหลม ขอบใบเรียบ ดอกช่อกระจุกซ้อน ออกปลายยอด สีขาว กลีบเลี้ยงติดกันคล้ายถ้วย สีเขียว กลีบดอกแยกกัน 5 กลีบ สีขาวอมเหลือง เกสรเพศผู้ 5 อัน สีเหลือง รังไข่ใต้วงกลีบ มีกลิ่นหอม กลีบดอก 5 กลีบ แยกกัน สีขาวอมเหลือง ผลแห้งแตก กลม ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีน้ำตาลแดง เป็นพู 2 พู เมล็ดอ่อนสีขาว รูป แบน มี 70-80 เมล็ดต่อผล
ผู้ชม : 3,131 ครั้ง

ลักษณะวิสัย
ลักษณะวิสัย
ลำต้น
ลำต้น
ใบ
ใบ
ดอก
ดอก