ชื่อพื้นเมือง ประดู่ป่า
ชื่อวิทยาศาสตร์ Pterocarpus indicus Willd.
ชื่อวงศ์ LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE
ชื่อสามัญ -
ประโยชน์ เนื้อไม้สีแดงอมเหลือง มีลวดลายสวยงาม แข็งแรง ใช้ในงานก่อสร้าง ทำเสา พื้น ต่อเรือ เครื่องเรือน เครื่องดนตรี แก่นสีแดงคล้ำใช้ย้อมผ้า และเปลือกให้น้ำฝาดใช้ฟอกหนัง
ฟังเสียงบรรยาย
ลักษณะวิสัย ไม้ต้น
ลักษณะเด่น ไม้ต้น ทรงพุ่มรูป สูง 22 เมตร กว้าง 5.50 เมตร พืชบก ลำต้นเหนือดิน ตั้งตรงเองได้ ผิวหยาบ แตกเป็นสะเก็ดร่องตื้นๆ ขรุขระ เห็นข้อปล้องไม่ชัดเจน ต้นอ่อนสีเขียวอ่อน ต้นแก่สีเทาดำ มียางแดงเหนียว ใบเป็นช่อ เรียงบนกิ่งแบบขนนก ใบอ่อนสีเขียว ใบแก่ด้านบนสีเขียวแก่ ด้านล่างสีเขียว รูปมนรี กว้าง 6 เซนติเมตร ยาว 11 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบ ดอกช่อ ออกปลายกิ่ง สีเหลือง กลีบเลี้ยงติดกัน 5 กลีบ สีเขียว กลีบดอกแยกกัน 5 กลีบ สีเหลือง เกสรเพศผู้ 10 อัน สีเหลือง เกสรเพศเมีย 1 อัน สีเขียว ปลายแยกเป็น 3 แฉก รังไข่เหนือวงกลีบ ไม่มีกลิ่น ผลแห้ง ผลอ่อนสีเขียว ผลแก่สีน้ำตาล เป็นพู 3 พู เมล็ดอ่อนสีขาวจุดสีม่วงแดง รูปรีมี 3 เมล็ดต่อผล
ผู้ชม : 2,799 ครั้ง

ลักษณะวิสัย
ลักษณะวิสัย
ลำต้น
ลำต้น
ใบ
ใบ