ชื่อพื้นเมือง มะกรูด
ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus hystrix DC.
ชื่อวงศ์ RUTACEAE
ชื่อสามัญ Leech lime, Mauritus papeda
ประโยชน์ น้ำมะกรูดแก้อาการท้องอืด ช่วยให้เจริญอาหาร ใช้ดองยา เพื่อใช้ฟอกเลือด และบำรุงโลหิตสตรี เนื้อของผลใช้เป็นยาแก้อาการปวดศีรษะ ใบมะกรูดใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ แก้จุกเสียด ผลมะกรูดที่คว้านไส้ออกนำมหาหิงส์ใส่แทนใช้เป็นยาขับลมแก้ปวดท้องในเด็กอ่อน ใบและผลมะกรูดใช้ทำน้ำมันหอม และใช้ปรุงแต่งกลิ่นรสอาหาร ในดับกลิ่นคาวของอาหาร ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องแกงต่าง ๆ
ฟังเสียงบรรยาย
ลักษณะวิสัย ไม้ต้น
ลักษณะเด่น  ไม้ต้น  ทรงพุ่มรูปร่ม  สูง 4  เมตร  กว้าง 10 เมตร  ลำต้นเหนือดิน ตั้งตรงเองได้  เลือกลำต้นสีน้ำตาล เรียบ มีหนามแหลมตามกิ่งก้าน เป็นไม้เนื้อแข็ง ใบเป็นใบประกอบชนิดลดรูป มีใบย่อย 1 ใบ สีเขียวแก่ กว้าง 3 เซนติเมตร ยาว 7 เซนติเมตร  ผิวใบเรียบเกลี้ยงเป็นมัน ค่อนข้างหนา มีกลิ่นหอมเฉพาะ เรียงสลับรูปไข่  ดอกช่อ   ออกตามซอกใบที่ปลายกิ่ง กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ กลีบดอกมี 4 - 5 แฉก โคนกลีบดอกติดกัน สีขาว เกสรตัวผู้จำนวน 18 – 20 อัน ก้านเกสรตัวเมียยาว 3 เซนติเมตร รังไข่กลม  ผลเดี่ยว สดแบบผลส้ม ผลอ่อนสีเขียวแก่ สุกเป็นสีเหลือง เป็นรูปทรงกลมหรือรูปไข่ โคนผลเรียวเป็นจุก ผิวขรุขระ มีต่อมน้ำมัน มีรสเปรี้ยว เมล็ดจำนวนมาก  สีขาว   กลมรี 
ผู้ชม : 3,240 ครั้ง

ลักษณะวิสัย
ลักษณะวิสัย
ลำต้น
ลำต้น
ใบ
ใบ